วันเสาร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เคล็ดลับช่วยแม่ท้องหลับสบาย

ในช่วงที่ตั้งท้อง การนอนหลับพักผ่อนของคุณแม่เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะนอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของคุณแม่แล้วการนอนหลับพัก ผ่อนที่เพียงพอยังทำให้คุณแม่อารมณ์ดี ไม่หงุดหงิดง่าย แต่ด้วยร่างกายที่เปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งท้องนั้น มักทำให้คุณแม่หลายท่านนอนหลับได้ไม่สบายเนื้อตัว และอาจมีอาการของการนอนกรนร่วมด้วย

สาเหตุการนอนกรนและหลับไม่สบาย

ตอนตั้งท้อง ร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ปวดท้อง เป็นตะคริวคลื่นไส้อาเจียน ลูกในท้องดิ้น และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นยังทำให้เนื้อเยื่อบริเวณช่องคอส่วนบนขยายออกจน ปิดทับที่ช่องทางเดินหายใจ ลมหายใจจึงผ่านเข้าสู่ปอดได้น้อย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของแม่ท้อง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลต่อการนอนของคุณแม่ท้องด้วย

ไตรมาสแรก ใน ระยะนี้จะมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) สูง ทำให้คุณแม่ง่วงนอน แต่เนื่องจากจะมีอาการปัสสาวะบ่อย คุณแม่จึงนอนไม่พอ ทำให้เกิดอาการง่วงและหลับในเวลากลางวันบ่อย นอกจากนี้ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณช่องปากส่วนบนและหลอด ลมบวม เกิดการอุดกั้นที่ระบบทางเดินหายใจมากขึ้น

ไตรมาสที่สอง ระดับฮอร์โมนยังสูงต่อเนื่อง แต่ขึ้นไม่เร็วเท่าไตรมาสแรก ช่วงนี้คุณแม่จึงนอนหลับได้ดีขึ้น

ไตรมาสที่สาม ท้องของคุณแม่เริ่มใหญ่ขึ้นทำให้นอนไม่สะดวก ปัสสาวะบ่อย แน่นท้องและปวดขา ทำให้คุณแม่ตื่นนอนตอนกลางคืนบ่อย

นอกจากนี้การที่แม่ท้องนอกกรนนั้น อาจมีสาเหตุจากโรคภูมิแพ้ ที่ทำให้เกิดการบวมของเนื้อเยื่อจมูกภายในจมูกคุณแม่จึงหายใจลำบาก และถ้าเกิดการอุดกั้นทางเดินทายใจรุนแรง จะทำให้เกิดการนอนกรนร่วมกับภาวการณ์หยุดหายใจรุนแรง จะทำให้เกิดการนอนกรนร่วมกับภาวการณ์หยุดหายใจทำให้แม่ท้องนอนกรนเสียงดัง และมีช่วงหยุดหายใจเวลากลางคืนส่วนช่วงกลางวันจะง่วงนอนมาก เป็นผลให้แม่ท้องร่างกายอ่อนเพลีย หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง อีกทั้งยังอาจรุนแรงถึงขั้นเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตทันที เพราะเกิดภาวะหยุดหายใจในช่วงนอนหลับ

นอนหลับสบายได้อย่างไร?

เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นและมีขนาด ใหญ่ขึ้น คุณแม่ควรนอนตะแคงซ้าย เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงลูกในท้องและอวัยวะภายในได้มากขึ้น ไม่ควรนอนหงายเป็นระยะเวลานาน

ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม

เพื่อป้องกันอาการปวดท้อง ให้คุณแม่ท้องอย่ากินอาหารแต่ละมื้อมากเกินไป ลดอาหารเผ็ด อาหารเปรี้ยว และหากมีอาการแน่นท้องให้นอนโดยหนุนหัวให้สูง

ให้ดื่มน้ำมากๆ ในเวลากลางวัน ส่วนก่อนนอนให้ลดการดื่มน้ำลง

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงระบบไหลเวียนเลือดดีและลดการเป็นตะคริวที่เท้า

แม่ท้องนอนกรนบางรายอาจจะต้องใช้หมอนสำหรับคนท้อง

หากมีอาการของโรคภูมิแพ้ ให้คุณแม่รีบพบแพทย์เพื่อรักษา ป้องกันไม่ให้เนื้อเยื่อภายในจมูกบวม

หากคุณแม่ง่วงในช่วงกลางวัน ก็งีบหลับบ้าง

หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิด เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท

ปรึกษาแพทย์หากแม่ท้องยังคงมีอาการนอนกรนอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น